1. รูปทรง (Form) เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการถ่ายภาพ เหมาะสำหรับการถ่ายภาพ ทางสถาปัตยกรรม การถ่ายภาพวัตถุ หรือถ่ายภาพสิ่งต่างๆ เน้นให้เห็นรายละเอียดในลักษณะ 3 มิติ คือ ความกว้าง ความสูง ความลึก โดยให้เห็นทั้งด้านหน้าและด้านข้าง และความลึก


2. รูปร่าง (Shape) เป็นการจัดองค์ประกอบภาพตรงข้ามกับรูปทรง คือเน้นให้เห็นเป็นภาพ 2 มิติ คือ ความกว้างกับความยาว ไม่ให้เห็นรายละเอียดของภาพ หรือที่เรียกว่าภาพเงาดำ ภาพลักษณะนี้ เป็นภาพที่ดูแปลกตา น่าสนใจ ลึกลับ ให้อารมณ์และสร้างจินตนาการ ในการในการดูภาพได้ดี นิยมถ่ายภาพในลักษณะย้อนแสง ข้อควรระวังในการถ่ายภาพลักษณะนี้คือ วัตถุที่ถ่ายต้องมีความเรียบง่าย เด่นชัด สื่อความหมาย ได้ชัดเจน ฉากหลังต้องไม่มารบกวนทำให้ภาพนั้นหมดความงามไป






5. ความสมดุลแบบปกติ (Formal Balance) เป็นการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพดูนิ่ง สง่างาม น่าศรัทธา คล้ายกับแบบเน้นด้วยรูปทรง แต่จะแสดงออกถึงความสมดุลย์ นิ่ง ปลอดภัย ภาพลักษณะนี้อาจจะดูธรรมดา ไม่สะดุดตาเท่าใดนัก แต่ก็มีเสน่ห์และความงามในตัว


6. ความสมดุลแบบไม่ปกติ (Informal Balance) การจัดภาพแบบนี้ จะให้ความรู้สึกที่สมดุลย์เช่นเดียวกับแบบที่แล้ว แต่จะต่างกันอยู่ที่ วัตถุทั้งสองข้าง มีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกัน แต่จะสมดุลย์ได้ด้วยปัจจัยต่าง ๆ กัน เช่น สี รูปทรง ท่าทาง ฉากหน้า ฉากหลัง ฯลฯ ภาพดูน่าสนใจและแปลกตากว่าแบบสมดุลย์ที่เท่ากัน แต่ความรู้สึกที่มั่นคงจะ น้อยกว่า


7. กรอบ (Frame) แม้ว่าภาพถ่ายจะสามารถนำมาประดับ ตกแต่งด้วยกรอบภาพอยู่แล้ว แต่การจัดให้ฉากหน้าหรือส่วนประกอบอื่นล้อมกรอบจุดเด่น เพื่อลดพื้นที่ว่าง หรือทำให้สายตาพุ่งสู่จุดสนใจนั้น ทำให้ภาพกระชับ น่าสนใจ


8. ช่องว่าง (Space) เป็นการจัดพื้นที่ตำแหน่งของจุดสนใจในภาพให้มีความเหมาะสม เช่น แบบหันหน้าไปทางใดหรือเคลื่อนที่ไปทางใดก็ควรเว้นช่องว่างทางด้านนั้นให้มากกว่าอีกด้าน ซึ่งหากจัดไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัด แคบ เกิดขึ้นกับภาพได้


9. กฎสามส่วน (Rule of Thirds) เป็นการจัดภาพที่นิยมมากที่สุด ภาพดูมีชีวิตชีวา ไม่จืดชืด การจัดภาพโดยใช้เส้นตรง 4 เส้นตัดกันในแนวตั้งและแนวนอน จะเกิดจุดตัด 4 จุด หรือแบ่งเป็น 3 ส่วน ทั้งแนวตั้งและแนวนอน การวางจุดสนใจของภาพจะเลือกวางใกล้ ๆ หรือ ตรงจุด 4 จุดนี้ จุดใดจุด หนึ่ง โดยหันหน้าของวัตถุไปในทิศทางที่มีพื้นที่ว่างมากกว่า ทำให้ภาพดูเด่น ไม่อึดอัด ไม่แน่น หรือหลวมจนเกินไป นักถ่ายภาพทั้งมืออาชีพ และมือสมัครเล่นนิยมจัดภาพแบบนี้มาก

10. น้ำหนักสี (Tone) วัตถุสิ่งของต่างๆ ในธรรมชาติจะมีน้ำหนักสี ค่าความเข้ม สว่าง ต่างๆ กัน ช่วยให้เกิดลักษณะความลึกของภาพ เช่น ทิวเขาที่สลับซับซ้อนกัน ที่อยู่ใกล้จะมีสีเข้ม ที่อยู่ไกลจะมีสีอ่อนลักษณะของภาพส่วนใหญ่ที่มีสีสว่างสดใส เรียกว่าภาพ High Key ให้ความรู้สึกอ่อนหวาน นุ่มนวล ส่วนลักษณะของภาพส่วนใหญ่ที่มีสีเข้ม มีเงามืด เรียกว่าภาพ Low Key ให้ความรู้สึกเข้มแข็ง ลึกลับ


11. ฉากหน้า ฉากหลัง (Foreground and Background)
· ฉากหน้า ส่วนใหญ่จะใช้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ หรือภาพอื่น ๆ ใช้ฉากหน้าเป็นตัวช่วยให้เกิดระยะ ใกล้ กลาง ไกล หรือมีมิติขึ้น ทำให้ภาพน่าสนใจอาจใช้กิ่งไม้ วัตถุ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กับกล้องเพื่อช่วยเน้นให้จุดสนใจที่ต้องการเน้น มีความเด่นยิ่งขึ้น และไม่ให้ภาพมีช่องว่างเกินไป ข้อควรระวังคืออย่าให้ฉากหน้าเด่นจนแย่งความสนใจจากสิ่งที่ต้องการเน้น จะทำให้ภาพลดความงามลง
· ฉากหลัง พื้นหลังของภาพก็มีความสำคัญ หากเลือกที่น่าสนใจ กลมกลืน หรือช่วยให้สิ่งที่ต้องการ เน้นเด่นขึ้นมา ควรเลือกฉากหลังที่กลมกลืน ไม่ทำให้จุดเด่นของภาพด้อยลง หรือมารบกวนทำให้ภาพนั้นขาดความงามไป


12. เส้น (Line) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการจัดองค์ประกอบของภาพ สามารถบอกลักษณะโครงสร้างของภาพ เป็นตัวนำไปสู่จุดเด่น หรือจุดสนใจของภาพถ่าย เชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆ ในภาพ ให้ความรู้สึกต่างๆ เช่น มั่นคง นิ่งสงบ เคลื่อนไหว อ่อนช้อย เป็นต้น


13. ความลึก (Perspective) เป็นการใช้เส้นให้นำสายตาไปสู่จุดสนใจ เป็นการจัดภาพที่ใช้เส้นที่เกิดจากวัตถุ หรือสิ่ง อื่น ๆ ที่มีรูปร่างลักษณะใกล้เคียงกัน เรียงตัวกันเป็นทิศทางไปยังวัตถุที่เป็นจุดสนใจ ช่วยให้วัตถุที่ต้องการเน้นมีความ เด่นชัด และน่าสนใจยิ่งขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น